วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สิ่งที่ต้องทำหลังจาก เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม (จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หลังจากที่รายได้เราเกิน 1.8 ล้านบาท ตาม บทความก่อนหน้านี้ เรื่อง

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ?

เราก็ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ทีนี้เราก็มาดูกันต่อว่า สิ่งที่เราต้องทำหลังจากที่เราเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอะไรบ้าง
1.    เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการจากเรา จากมูลค่าสินค้า หรือบริการ
       (ณ ปัจจุบันมีประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มรวมภาษีท้องถิ่นจาก 10% เหลือ 7% 
       ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2567 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2568)
2.    ออกใบกำกับภาษี โดยในตัวใบกำกับภาษีนั้น สรรพากร ได้กำหนดรายการที่ต้องมีดังนี้
        -    ให้มีคำว่า "ใบกำกับภาษี" อยู่ในเอกสารที่เราออก
        -    ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และสาขา ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบกำกับภาษี
        -    ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และสาขา ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
        -    หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี
        -    ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า หรือของบริการ
        -    จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของ
              สินค้าหรือของบริการอย่างชัดเจน
        -    วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
        ถามว่าทำไมเราต้องรู้ข้อมูลพวกนี้ ทุกวันนี้ก็ใช้โปรแกรมบัญชี ในการออกใบกำกับภาษีอยู่แล้ว แต่ต้องอย่าลืมนะครับว่า เราต้องตรวจสอบใบกำกับภาษีที่เราได้มาจากการซื้อสินค้า หรือรับบริการ เช่นกัน ผมจึงคิดว่ามันก็ยังเป็นเรื่องที่เรายังจำเป็นต้องรู้อยู่ โดยปกติ
        -    ผมจะเรียกใบกำกับภาษีที่เราออกให้ลูกค้าง่าย ๆ ว่า "ใบกำกับภาษีขาย" และ
        -    ใบกำกับภาษีที่เราได้รับจากการที่บริษัทเราไปซื้อสินค้า หรือรับบริการ ว่า "ใบกำกับภาษีซื้อ"

ซึ่งรูปร่างหน้าตา ของใบกำกับภาษีจะเป็นตามตัวอย่างดังรูป

พอทราบว่าใบกำกับภาษีที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร เราก็ต้องทราบอีกว่าความแตกต่างของวันที่ในการออกใบกำกับภาษีก็มีความแตกต่างกันเช่นกัน เพราะมันจะแบ่งลักษณะของประเภทธุรกิจออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
        -    ธุรกิจขายสินค้า จะออกใบกำกับภาษี ณ วันที่เราส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า โดยในใบกำกับภาษี
              เราอาจจะระบุเพิ่มเติมจากคำว่า "ใบกำกับภาษี" เป็น "ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี" ก็ได้

        -    ธุรกิจให้บริการ จะออกใบกำกับภาษี ณ วันที่เราได้รับเงินค่าบริการซึ่งในใบกำกับภาษี เราอาจจะ
             ระบุเพิ่มเติมจากคำว่า "ใบกำกับภาษี" เป็น "ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี" ก็ได้
3.    จัดทำรายงานตามที่กฏหมายกำหนด
        3.1    รายงานภาษีซื้อ
                 คือ การรวบรวมใบกำกับภาษีซื้อ ที่สามารถใช้สิทธิ์ได้ มาสรุปเป็นรายงาน
        3.2    รายงานภาษีขาย
                 คือ การรวบรวมใบกำกับภาษีขาย มาสรุปเป็นรายงาน
        3.3    รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4.    ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
       นำรายงานภาษีขาย และภาษีซื้อที่จัดทำตามข้อ 3. มาสรุปเป็นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ซึ่ง
        -    หากรายงานภาษีขาย > รายงานภาษีซื้อ = จะต้องนำส่งเงินส่วนต่างให้สรรพากร
        -    หากรายงานภาษีขาย < รายงานภาษีซื้อ = จะถือเป็นเครดิตภาษี สามารถขอคืนเป็นเงินสด หรือนำ
             ไปหัก จากแบบภ.พ.30 ได้ในเดือนถัดไป
ตัวเครดิตภาษีจะสามารถสะสมไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าที่เราจะใช้มันหมด แล้วจะหมดอย่างไร เครดิตภาษีจะหมดได้ ในรูปแบบนี้ครับ
        -    รายงานภาษีขาย > รายงานภาษีซื้อ + เครดิตภาษี = นำส่งเงินส่วนต่างให้สรรพากร
        -    รายงานภาษีขาย < รายงานภาษีซื้อ + เครดิตภาษี = ยังคงถือเป็นเครดิตภาษีอยู่ครับ
กำหนดการในการยื่นแบบภ.พ.30 จะแบ่งเป็น เป็น 2 ส่วน ผมสรุปให้จำง่าย ๆ แบบนี้ว่า
        -    ยื่นกระดาษ (ยื่นเอกสารที่สรรพากร) จะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
        -    ยื่นผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ จะต้องยื่นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

        เริ่มเยอะแล้วใช่ไหมครับ สำหรับสิ่งที่ต้องทำหลังจาก เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังครับ ยังไม่หมด เดี๋ยวเรามาคุยกันต่อในโอกาสต่อไป เพราะยังมีเรื่องของ
        -    ใบกำกับภาษีขาย (อย่างย่อ)
        -    ใบกำกับภาษีซื้อ (อันไหนใช้สิทธิ์ได้ / ไม่ได้)
        -    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
        -    ประกันสังคม
        เพราะ ไม่ว่าจะจดทะเบียนในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมา ต้องทำทั้ง 2 รูปแบบของกิจการครับ เพียงแต่ว่า รูปแบบบุคคลธรรมดา อาจจะตัดทอนบางส่วนไปได้ เช่นภาษีหัก ณ ทีจ่าย ที่จะทำแค่บางส่วนเท่านั้น

รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท
สนใจปรึกษาฟรี ก่อนตัดสินใจ
 

ติดต่อ คุณทศพร

Tel. : 02-408-4215
Hotline : 081-616-1315
LINE ID : jt.accounting.office
Email : jtac24569@gmail.com
FB : www.facebook.com/jtaccount/

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ?

เรื่องตามหัวข้อนี้ ผมทำเป็นแบบร่างไว้นานมาก และมันก็เป็นเรื่องที่ตั้งใจจะเขียนต่อจาก เรื่องที่เคยเขียนไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว เรื่อง

จะเริ่มประกอบธุรกิจ จดทะเบียนรูปแบบไหนดี สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดทะเบียน (ภาค 3)

มาต่อกันที่เรื่องตามหัวข้อเลยครับ
"รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท / ปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จริงหรือ ?"
"ผมตอบให้เลยครับ ไม่จำเป็นเสมอไป ถามว่าทำไม"

เพราะมันมีรายได้ทั้งที่เกี่ยวข้อง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ดังนี้

1. รายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น
    - รายได้จากการขายสินค้า หรือ ให้บริการ แบ่งเป็น
       - ในประเทศ     - เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%
       - ต่างประเทศ   - เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% (ต้องผ่านพิธีการกรมศุลขาออก)
    - รายได้จากการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่ารถ

2. รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น
    - รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่าบ้าน / อาคาร
    - รายได้จากการขายสินค้าทางการเกษตร เช่น พืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ยังไม่แปรรูป

3. รายได้ที่ไม่อยู่บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น
    - มีการขายสินค้าต่างประเทศ แต่ไม่ได้ส่งออกจากไทย เช่น
      สั่งของจากผู้ขายสินค้าในต่างประเทศ และส่งสินค้าไปยังต่างประเทศเลยไม่ผ่านไทย 
    - มีการให้บริการในต่างประเทศ และผลของการบริการใช้ในต่างประเทศ

เพราะฉะนั้น
ถ้ามีรายได้ตามข้อ 1. เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี อย่างนี้เราต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่หาก มีรายได้ตามข้อ 2. และ 3. (ไม่มีรายได้ตามข้อ 1.) อย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มครับ

หรือ "ถ้ามีรายได้ตามข้อ 1. + 2. + 3. รวมกัน" ก็ต้องมาดูว่ารายได้ตามข้อ 1. เกิน 1.8 ล้านบาทไหม ถ้ารายได้ตามข้อ 1. เกิน 1.8 ล้านบาท ก็ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มครับ แต่ถ้าไม่เกิน ก็ยังไม่ต้องจดครับ

น่าจะมีคำถามว่า
- ถ้าขายที่ดิน หรือขายบ้าน / คอนโด จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไหม
  - อันนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนะครับ แต่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

- ขายของออนไลน์ด้วย มีเงินเดือนด้วย อย่างนี้ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไหม 
   - ถ้ายอดขายของออนไลน์ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท / ปี ก็ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ

ที่ยกมาอันนี้ เป็นเพียงตัวอย่าง และสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ นะครับ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องประเภทรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 2. และรายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม น่าจะค้นหาบน google กันได้อยู่แล้ว ไม่น่าจะต้องกังวลเท่าไหร่ครับ

รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท
สนใจปรึกษาฟรี ก่อนตัดสินใจ
 

ติดต่อ คุณทศพร
Tel.       : 02-408-4215
Hotline : 081-616-1315
Email    : jtac24569@gmail.com

รับทำบัญชี,สำนักงานบัญชี,รับตรวจสอบบัญชี,บริษัทตรวจสอบบัญชี,บริษัทรับทำบัญชี,จัดตั้งบริษัท,รับตรวจสอบภาษี,รับเคลียร์ปัญหาสรรพากร,<br /> ตรวจสอบบัญชี,ผู้ตรวจสอบบัญชี,รับจดทะเบียนบริษัท,รับตรวจสุขภาพกิจการ,วางแผนภาษี,รับวางระบบบัญชี,การจัดตั้งบริษัท,ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต,<br /> วางระบบบัญชี,วางแผนภาษีอากร,จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท,บริการรับจัดทำบัญชี,ชำระบัญชี,จดทะเบียนเลิกบริษัท,รับทำบัญชี กรุงเทพ,รับทำบัญชี กทม.,รับทำบัญชี สมุทรปราการ,รับทำบัญชี ราษฎร์บูรณะ,รับทำบัญชี ทุ่งครุ<br /> รับทำบัญชี บางปะกอก,รับทำบัญชี ดาวคะนอง,รับทำบัญชี พระสมุทรเจดีย์,รับทำบัญชี พระประแดง,รับทำบัญชี ประชาอุทิศ,รับทำบัญชี สุขสวัสดิ์,รับทำบัญชี พระราม 2,รับทำบัญชี หนอกจอก,รับทำบัญชี สีลม,รับทำบัญชี จอมทอง,รับทำบัญชี ลาดพร้าว,รับทำบัญชี บางกะปิ,รับทำบัญชี รามคำแหง,รับทำบัญชี มีนบุรี,รับทำบัญชี รามอินทรา,<br /> รับทำบัญชี ร่มเกล้า,รับทำบัญชี ลาดกระบัง,รับทำบัญชี อ่อนนุช,รับทำบัญชี ติวานนท์,รับทำบัญชี รังสิตรัตนาธิเบศร์,รับทำบัญชี พระราม 9,รับทำบัญชี รัชดาภิเษก,รับทำบัญชี ดินแดง,รับทำบัญชี ปิ่นเกล้า,รับทำบัญชี ประดิษฐ์มนูธรรม,รับทำบัญชี สุขุมวิท,รับทำบัญชี เพชรบุรีตัดใหม่,รับทำบัญชี ตากสิน,รับทำบัญชี บรรทัดทอง,<br /> รับทำบัญชี บางนา-ตราด,รับทำบัญชี ลาซาล,รับทำบัญชี พหลโยธิน,รับทำบัญชี ศรีนครินทร์,รับทำบัญชี วิทยุ,รับทำบัญชี วัชรพล,รับทำบัญชี สายไหม,รับทำบัญชี วิภาวดีรังสิต,รับทำบัญชี วงแหวน,รับทำบัญชี สุรวงศ์,รับทำบัญชี งามวงศ์วาน,รับทำบัญชี นวมินทร์,รับทำบัญชี บางบอน,รับทำบัญชี จรัลสนิทวงศ์,รับทำบัญชี ท่าพระ,รับทำบัญชี บางแค<br /> รับทำบัญชี บางขุนเทียน,รับทำบัญชี เพชรเกษม,รับทำบัญชี สำโรง,รับทำบัญชี อ้อมน้อย,รับทำบัญชี เจริญนคร,รับทำบัญชี บางรัก,รับทำบัญชี ราชเทวี,รับทำบัญชี คลองสาน,รับทำบัญชี เจริญกรุง,รับทำบัญชี พระราม 3,รับทำบัญชี ปากเกร็ด,รับทำบัญชี พัฒนาการ<br />สำนักงานบัญชี กรุงเทพ,สำนักงานบัญชี กทม.,สำนักงานบัญชี สมุทรปราการ,สำนักงานบัญชี ราษฎร์บูรณะ,สำนักงานบัญชี ทุ่งครุ<br /> สำนักงานบัญชี บางปะกอก,สำนักงานบัญชี ดาวคะนอง,สำนักงานบัญชี พระสมุทรเจดีย์,สำนักงานบัญชี พระประแดง,สำนักงานบัญชี ประชาอุทิศ,สำนักงานบัญชี สุขสวัสดิ์,สำนักงานบัญชี พระราม 2,รับทำบัญชี หนอกจอก,สำนักงานบัญชี สีลม,สำนักงานบัญชี จอมทอง,สำนักงานบัญชี ลาดพร้าว,สำนักงานบัญชี บางกะปิ,สำนักงานบัญชี รามคำแหง,สำนักงานบัญชี มีนบุรี,สำนักงานบัญชี รามอินทรา,<br /> สำนักงานบัญชี ร่มเกล้า,สำนักงานบัญชี ลาดกระบัง,สำนักงานบัญชี อ่อนนุช,สำนักงานบัญชี ติวานนท์,สำนักงานบัญชี รังสิตรัตนาธิเบศร์,สำนักงานบัญชี พระราม 9,สำนักงานบัญชี รัชดาภิเษก,สำนักงานบัญชี ดินแดง,สำนักงานบัญชี ปิ่นเกล้า,สำนักงานบัญชี ประดิษฐ์มนูธรรม,สำนักงานบัญชี สุขุมวิท,สำนักงานบัญชี เพชรบุรีตัดใหม่,สำนักงานบัญชี ตากสิน,สำนักงานบัญชี บรรทัดทอง,<br /> สำนักงานบัญชี บางนา-ตราด,สำนักงานบัญชี ลาซาล,สำนักงานบัญชี พหลโยธิน,สำนักงานบัญชี ศรีนครินทร์,สำนักงานบัญชี วิทยุ,สำนักงานบัญชี วัชรพล,สำนักงานบัญชี สายไหม,สำนักงานบัญชี วิภาวดีรังสิต,สำนักงานบัญชี วงแหวน,สำนักงานบัญชี สุรวงศ์,สำนักงานบัญชี งามวงศ์วาน,สำนักงานบัญชี นวมินทร์,สำนักงานบัญชี บางบอน,สำนักงานบัญชี จรัลสนิทวงศ์,สำนักงานบัญชี ท่าพระ,สำนักงานบัญชี บางแค<br /> สำนักงานบัญชี บางขุนเทียน,สำนักงานบัญชี เพชรเกษม,สำนักงานบัญชี สำโรง,สำนักงานบัญชี อ้อมน้อย,สำนักงานบัญชี เจริญนคร,สำนักงานบัญชี บางรัก,สำนักงานบัญชี ราชเทวี,สำนักงานบัญชี คลองสาน,สำนักงานบัญชี เจริญกรุง,สำนักงานบัญชี พระราม 3,สำนักงานบัญชี ปากเกร็ด,สำนักงานบัญชีพัฒนาการ<br />