- ต้องจัดให้มี "ผู้ทำบัญชี" ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพรบ.การบัญชี พ.ศ.2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการ กิจการละ 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของกิจการ ซึ่งอาจจะเป็นพนักงานของกิจการ ผู้ทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำบัญชีก็ได้
- จัดทำบัญชีตามกฎหมาย นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำได้แก่
2.1 บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด, บัญชีเงินฝากธนาคาร, สมุดรายวันซื้อ, ขาย, รับ, จ่าย และ
สมุดรายวันทั่วไป
2.2 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย
2.3 บัญชีสินค้า ( รายงานสินค้าคงเหลือ )
2.4 บัญชีรายวัน และแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น - ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี ให้แก่ "ผู้ทำบัญชี" ให้ครบถ้วนถูกต้อง
- จัดให้มีการปิดบัญชี ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
- จัดทำงบการเงิน อย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกรอบ 12 เดือน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินจะต้องมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อย 1 คนตรวจสอบ แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ไม่ว่าจะมีรายการค้าหรือไม่
- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี อย่างน้อย 5 ปี
- จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ( เฉพาะบริษัทจำกัด ) ณ วันที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น และให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัด ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม
- ต้องจัดทำใบหุ้น ( เฉพาะบริษัทจำกัด )
- ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นบริษัท ( เฉพาะบริษัทจำกัด
- กรณีต้องการเพิ่มเติมแก้ไขรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ หรือต้องการจะเลิกกิจการ จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือขอจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่บริษัท หรือห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการนั้น จะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการที่ได้กำหนดไว้
รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท
สนใจปรึกษาฟรี ก่อนตัดสินใจ
ติดต่อ คุณทศพร
Tel. : 02-408-4215
Hotline : 081-616-1315
Email : jtac24569@gmail.com